scan0003

วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ เดิมชื่อว่า โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย กองแพทย์กรม-ตำรวจ เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2512 โดยดำริของ ฯพณฯ พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงค์ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น โดยที่ท่านเคยปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมาก่อน จึงมีความรู้และความเข้าใจ ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลตำรวจกำลังประสบปัญหาขาดแคลนพยาบาล อย่างมาก ในขณะนั้น ท่านดำริว่าปัญหาขาดแคลนพยาบาลเป็นปัญหาระดับชาติ สมควรที่ทุกหน่วยงานต้องช่วยกันแก้ไข กรมตำรวจจึงมีมติให้ กองแพทย์ เปิดรับสมัครนักเรียนพยาบาลรุ่นแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 โดยรับผู้สำเร็จ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในขณะนั้น เข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลผดุงครรภ์ และอนามัย ใช้เวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี 6 เดือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์อนามัย ( เทียบเท่าอนุปริญญา )

โดยที่วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ผลิตบุคลากรทางการพยาบาลแก่หน่วยงาน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนเพื่อสนับสนุนการบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพแก่ข้าราชการตำรวจ และครอบครัว รวมทั้งให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ดังนั้นวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ จึงได้มีการพัฒนาด้านการบริหารองค์การ และพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่องพอสรุปได้ดังนี้

scan0005

ปี พ.ศ. 2514 โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย กองแพทย์ กรมตำรวจ ได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารสูง 7 ชั้น โดยใช้พื้นที่ชั้น 1 ถึงชั้น 4 เป็นสำนักงานและอาคารเรียน ส่วนชั้น 5 ถึงชั้น 7 เป็นอาคารหอพักนักเรียน และได้ทำพิธีเปิดอาคาร โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2515 โดย พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงค์ อธิบดีกรมตำรวจ

ปี พ.ศ. 2522 กองแพทย์ กรมตำรวจ ได้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยยกฐานะขึ้นเป็น สำนักงานแพทย์ใหญ่ ( เทียบเท่ากองบัญชาการ ) โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย จึงได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ (เทียบเท่ากองบังคับการ) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2522 โดยรวมโรงเรียนต่างๆ ที่ผลิตบุคลากรพยาบาลหลายระดับไว้ด้วยกัน เช่น โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล โรงเรียนพยาบาลสนาม และหลักสูตรอบรมสายการแพทย์ มีการแบ่งส่วนราชการเป็น 8 งาน คือ

  1. งานด้านธุรการ
  2. งานฝึกอบรมพยาบาล ปรับฐานะมาจากโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย
  3. งานฝึกอบรมผู้ช่วยพยาบาล ปรับฐานะมาจากโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล
  4. งานฝึกอบรมสายการแพทย์ ปรับฐานะมาจากหลักสูตรฝึกอบรมสายการแพทย์
  5. งานฝึกอบรมพยาบาลภาคสนาม ปรับฐานะมาจาก โรงเรียนพยาบาลภาคสนาม
  6. งานอำนวยการศึกษาฯ เกี่ยวกับการเรียนการสอน และจัดหลักสูตรต่างๆ
  7. งานปกครองนักเรียน มีหน้าที่ปกครองดูแลนักเรียน / นักศึกษา
  8. งานตำราและอุปกรณ์ รับผิดชอบเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนอุปกรณ์ต่างๆ
scan0007

งานธุรการมีฐานะเทียบเท่าแผนก ทำหน้าที่ธุรการของวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ทั้งหมดส่วนอีก 7 งาน มีฐานะเทียบเท่ากองกำกับการ ขณะเดียวกันมีการปรับปรุงหลักสูตร โดยเพิ่มวิชาการตำรวจ จำนวน 320 ชั่วโมง ไว้ในหลักสูตรด้วย เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นว่าที่ร้อยตำรวจตรี โดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าอบรมในหลักสูตรของกรมอีก ซึ่งทบวงฯ ให้ความเห็นชอบเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2522 และพร้อมกันนั้น วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ซึ่งใช้เวลาศึกษา 3 ปี 6 เดือน โดยเพิ่มวิชาที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพ พยาบาล และขยายเวลาเรียนเป็นเวลา 4 ปี ให้ได้มาตรฐานตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด และเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น หลักสูตรการพยาบาลและผดุงครรภ์ ซึ่งทบวงฯ ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2522 ผู้สำเร็จการศึกษาได้รับ ประกาศนียบัตรชั้นสูง การพยาบาลและผดุงครรภ์

ปี พ.ศ. 2525 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้รับงบประมาณให้ขยายอาคาร 7 ชั้น ขึ้นไปทางด้านทิศตะวันออก ทำให้เพิ่มจำนวน ห้องเรียน และหอพักให้ได้มาตรฐานขึ้น การขยายอาคารแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2526

ปี พ.ศ. 2526 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพยาบาลผดุงครรภ์ อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้หลักสูตรได้พัฒนา ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการแพทย์ การพยาบาล เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ของโรค และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีการจัดหมวดวิชาใหม่ให้สอดคล้องกับหลักสูตรพยาบาล ของสถาบันการศึกษาพยาบาลอื่นๆ และได้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น หลักสูตรการพยาบาลศาสตร์ ผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ และ ก.พ. รับรองแล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2529

ปี พ.ศ. 2528 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้รับงบประมาณให้สร้างหอพักนักศึกษา ตัวอาคารสูง 4 ชั้น สร้างแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2529

ปี พ.ศ. 2530 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้สมทบกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามประกาศพระราชกฤษฏีการับวิทยาลัยพยาบาล ตำรวจเข้าสมทบใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530 ในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 84 ตอนที่ 269 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และในปีเดียวกันนี้ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้เปิดอบรมหลักสูตรเสริมความรู้ทางวิชาการ ระดับนายสิบพยาบาล ( ผู้ช่วยพยาบาล ) และ พลพยาบาล ( พยาบาลภาคสนาม ) เป็นครั้งแรก

scan0026

ปี พ.ศ. 2532 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็นหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต พร้อมเปลี่ยนชื่อประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์เป็นพยาบาลศาสตรบัณฑิต เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2532 เป็นผลให้ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 16 ได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2532

ปี พ.ศ. 2540 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ขอวิเคราะห์และกำหนดตำแหน่งข้าราชการตำรวจ เนื่องจากการแบ่งส่วนราชการเดิม ไม่มีการจัดภาควิชาที่เหมาะสม เป็นผลให้ผู้ทำหน้าที่สอน ต้องปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ในขณะเดียวกันทำให้ไม่สามารถพัฒนา งานวิชาการให้ก้าวหน้าได้เท่าที่ควร ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติให้วิทยาลัยพยาบาลตำรวจปรับโครงสร้าง และกำหนดตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจในวิทยาลัยใหม่ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2540 ดังนี้

  1. ฝ่ายอำนวยการ
  2. ฝ่ายปกครอง
  3. ฝ่ายบริการการศึกษา
  4. ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
  5. ภาควิชาหลักการพยาบาล
  6. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
  7. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ทั่วไป
  8. ภาควิชาการพยาบาลสูตินรีเวชศาสตร์
  9. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
  10. ภาควิชาการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
  11. ภาควิชาการอนามัยชุมชน
  12. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์กระดูกและอุบัติเหตุ
scan0042-6

ปี พ.ศ. 2541 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้จัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ( ต่อเนื่อง 2 ปี ) ใช้เวลาศึกษา 2 ปี เพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการตำรวจ ผู้มีคุณวุฒิทางการพยาบาลต่ำกว่าปริญญาตรี ได้มีโอกาสศึกษาเพิ่มเติม ในหลักสูตรต่อเนื่อง ระดับปริญญาตรีทางการพยาบาล ซึ่งเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้า และพัฒนาบุคลากรด้านนี้ที่ยังขาดแคลนอยู่ และเป็นการแก้ไขปัญหาสิทธิ ในการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาชีพ เฉพาะการพยาบาลในระยะยาวอีกด้วย

ปี พ.ศ. 2543 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ดำเนินการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางสาขา การพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ ระยะเวลาอบรม 16 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากร ที่สำเร็จ การศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามรถ ด้านการพยาบาลเฉาะทางเพิ่มขึ้น

ปี พ.ศ. 2546 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้เปิดอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง สาขาการบริหารการพยาบาลระยะเวลา 16 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และปฏิบัติงานให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยในระดับหัวหน้าหน่วย หรือรองหัวหน้า หน่วยของโรงพยาบาลตำรวจ ให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้าน การพัฒนาบุคลากร งบประมาณ คุณภาพการพยาบาลสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบวิชาชีพและการพยาบาล และในปีเดียวกันนี้วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพ การศึกษา ตาม CU.QA 84.1 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้รับประกาศนียบัตรรับรองสัมฤทธิ์ผลระบบ ประกันคุณภาพจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ระยะเวลารับรอง 4 ปี ตั้งแต่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2550

scan0053-14

ปี พ.ศ. 2545 – 2547 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจงดการผลิตนักศึกษาพยาบาลตำรวจ ด้วยเหตุผลจากนโยบายสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ จึงไม่มีการรับนักศึกษาเข้าใหม่ คงเหลือนักศึกษาที่เข้าศึกษาก่อนปีดังกล่าวศึกษาอยู่ ซึ่งจบการศึกษาทั้งหมด ในปีการศึกษา 2547

ปี พ.ศ. 2547 เนื่องจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลตำรวจไม่มีข้อผูกมัดในการปฏิบัติงานเมื่อ จบการศึกษาบัณฑิต ทั้งหมดจะต้องไปปฏิบัติงานตามโรงพยาบาล หรือ หน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ วิทยาลัยพยาบาล จึงได้ทำการวิจัยเพื่อติดตามความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้ สำเร็จการศึกษาหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

เพื่อ นำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรวิธีการจัดการ เรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพและ สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน หรือผู้รับบริการ ปี พ.ศ. 2548 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้รับการอนุมัติจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผลิตหลักสูตร

scan0053-19

พยาบาลศาตรบัณฑิต และ หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งในปัจจุบัน มีนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2548 จำนวน 68 คน และ นักเรียนผู้ช่วยพยาบาล จำนวน 60 คน วิทยาลัยพยาบาลตำรวจได้มุ่งมั่นพัฒนางานทั้งด้านวิชาการ และการบริการ ให้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 35 ปี มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา หลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต จำนวน 1,644 คน มากกว่าร้อยละ 90 ยังคงปฏิบัติงานในโรงพยาบาลตำรวจ สามารถสร้างคุณประโยชน์ ให้แก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ