วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ เดิมชื่อว่า โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย กองแพทย์กรม-ตำรวจ เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2512 โดยดำริของ ฯพณฯ พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงค์ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น โดยที่ท่านเคยปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมาก่อน จึงมีความรู้และความเข้าใจ ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลตำรวจกำลังประสบปัญหาขาดแคลนพยาบาล อย่างมาก ในขณะนั้น ท่านดำริว่าปัญหาขาดแคลนพยาบาลเป็นปัญหาระดับชาติ สมควรที่ทุกหน่วยงานต้องช่วยกันแก้ไข กรมตำรวจจึงมีมติให้ กองแพทย์ เปิดรับสมัครนักเรียนพยาบาลรุ่นแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 โดยรับผู้สำเร็จ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในขณะนั้น เข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลผดุงครรภ์ และอนามัย ใช้เวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 3 ปี 6 เดือน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์อนามัย ( เทียบเท่าอนุปริญญา )
โดยที่วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ผลิตบุคลากรทางการพยาบาลแก่หน่วยงาน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชนเพื่อสนับสนุนการบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพแก่ข้าราชการตำรวจ และครอบครัว รวมทั้งให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ดังนั้นวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ จึงได้มีการพัฒนาด้านการบริหารองค์การ และพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรอย่างต่อเนื่องพอสรุปได้ดังนี้
ปี พ.ศ. 2522 กองแพทย์ กรมตำรวจ ได้แบ่งส่วนราชการใหม่ โดยยกฐานะขึ้นเป็น สำนักงานแพทย์ใหญ่ ( เทียบเท่ากองบัญชาการ ) โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย จึงได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ (เทียบเท่ากองบังคับการ) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2522 โดยรวมโรงเรียนต่างๆ ที่ผลิตบุคลากรพยาบาลหลายระดับไว้ด้วยกัน เช่น โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล โรงเรียนพยาบาลสนาม และหลักสูตรอบรมสายการแพทย์ มีการแบ่งส่วนราชการเป็น 8 งาน คือ
- งานด้านธุรการ
- งานฝึกอบรมพยาบาล ปรับฐานะมาจากโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย
- งานฝึกอบรมผู้ช่วยพยาบาล ปรับฐานะมาจากโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล
- งานฝึกอบรมสายการแพทย์ ปรับฐานะมาจากหลักสูตรฝึกอบรมสายการแพทย์
- งานฝึกอบรมพยาบาลภาคสนาม ปรับฐานะมาจาก โรงเรียนพยาบาลภาคสนาม
- งานอำนวยการศึกษาฯ เกี่ยวกับการเรียนการสอน และจัดหลักสูตรต่างๆ
- งานปกครองนักเรียน มีหน้าที่ปกครองดูแลนักเรียน / นักศึกษา
- งานตำราและอุปกรณ์ รับผิดชอบเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนอุปกรณ์ต่างๆ
ปี พ.ศ. 2525 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้รับงบประมาณให้ขยายอาคาร 7 ชั้น ขึ้นไปทางด้านทิศตะวันออก ทำให้เพิ่มจำนวน ห้องเรียน และหอพักให้ได้มาตรฐานขึ้น การขยายอาคารแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2526
ปี พ.ศ. 2526 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรการพยาบาลผดุงครรภ์ อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้หลักสูตรได้พัฒนา ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการแพทย์ การพยาบาล เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ของโรค และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีการจัดหมวดวิชาใหม่ให้สอดคล้องกับหลักสูตรพยาบาล ของสถาบันการศึกษาพยาบาลอื่นๆ และได้เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น หลักสูตรการพยาบาลศาสตร์ ผู้สำเร็จการศึกษา ได้รับประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ และ ก.พ. รับรองแล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2529
ปี พ.ศ. 2528 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้รับงบประมาณให้สร้างหอพักนักศึกษา ตัวอาคารสูง 4 ชั้น สร้างแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2529
ปี พ.ศ. 2530 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้สมทบกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามประกาศพระราชกฤษฏีการับวิทยาลัยพยาบาล ตำรวจเข้าสมทบใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530 ในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 84 ตอนที่ 269 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และในปีเดียวกันนี้ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้เปิดอบรมหลักสูตรเสริมความรู้ทางวิชาการ ระดับนายสิบพยาบาล ( ผู้ช่วยพยาบาล ) และ พลพยาบาล ( พยาบาลภาคสนาม ) เป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2540 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ขอวิเคราะห์และกำหนดตำแหน่งข้าราชการตำรวจ เนื่องจากการแบ่งส่วนราชการเดิม ไม่มีการจัดภาควิชาที่เหมาะสม เป็นผลให้ผู้ทำหน้าที่สอน ต้องปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ในขณะเดียวกันทำให้ไม่สามารถพัฒนา งานวิชาการให้ก้าวหน้าได้เท่าที่ควร ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติให้วิทยาลัยพยาบาลตำรวจปรับโครงสร้าง และกำหนดตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจในวิทยาลัยใหม่ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2540 ดังนี้
- ฝ่ายอำนวยการ
- ฝ่ายปกครอง
- ฝ่ายบริการการศึกษา
- ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
- ภาควิชาหลักการพยาบาล
- ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
- ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ทั่วไป
- ภาควิชาการพยาบาลสูตินรีเวชศาสตร์
- ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
- ภาควิชาการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
- ภาควิชาการอนามัยชุมชน
- ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์กระดูกและอุบัติเหตุ
ปี พ.ศ. 2543 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ดำเนินการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางสาขา การพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ ระยะเวลาอบรม 16 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากร ที่สำเร็จ การศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามรถ ด้านการพยาบาลเฉาะทางเพิ่มขึ้น
ปี พ.ศ. 2546 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้เปิดอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง สาขาการบริหารการพยาบาลระยะเวลา 16 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาคุณภาพบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต และปฏิบัติงานให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยในระดับหัวหน้าหน่วย หรือรองหัวหน้า หน่วยของโรงพยาบาลตำรวจ ให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้าน การพัฒนาบุคลากร งบประมาณ คุณภาพการพยาบาลสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้อง กับการประกอบวิชาชีพและการพยาบาล และในปีเดียวกันนี้วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพ การศึกษา ตาม CU.QA 84.1 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้รับประกาศนียบัตรรับรองสัมฤทธิ์ผลระบบ ประกันคุณภาพจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ระยะเวลารับรอง 4 ปี ตั้งแต่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2550
ปี พ.ศ. 2547 เนื่องจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาลตำรวจไม่มีข้อผูกมัดในการปฏิบัติงานเมื่อ จบการศึกษาบัณฑิต ทั้งหมดจะต้องไปปฏิบัติงานตามโรงพยาบาล หรือ หน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ วิทยาลัยพยาบาล จึงได้ทำการวิจัยเพื่อติดตามความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้ สำเร็จการศึกษาหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
เพื่อ นำผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรวิธีการจัดการ เรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพและ สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน หรือผู้รับบริการ ปี พ.ศ. 2548 วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ได้รับการอนุมัติจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผลิตหลักสูตร